[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
เครดิตบูโร สิ่งที่คนอยากออกรถหลายคนเป็นกังวล  VIEW : 29    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 538
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 18
Exp : 80%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.95.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 22:51:04   

เครดิตบูโร ไม่ใช่แบล็กลิสต์ ความเข้าใจผิดของคนอยากมีรถ
เครดิตบูโร หลายคนที่กำลังจะซื้อรถ หรือแม้กระทั่งซื้อบ้าน หรือทำธุรกรรมทางเงินอะไรก็แล้วแต่ อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับคำว่าแบล็กลิสต์ หรือเครดิตบูโร กลัวว่าจะไม่สามารถขออนุมัติสินเชื่อได้ แต่ความจริงแล้วคำสองคำนี้ มีความหมายต่างกันอย่างชัดเจน และเครดิตบูโรก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับแบล็กลิสต์ด้วย!

ข้อมูลที่จัดเก็บหรือรายงานในเครดิตบูโรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกหนี้ที่ขอสินเชื่อ ได้แก่
– ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด อาชีพ สถานภาพการสมรส ฯลฯ แต่จะไม่มีการจัดเก็บข้อมูลเบอร์โทรศัพท์

– ข้อมูลที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งกับสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร

ข้อมูลเครดิต ได้แก่
– สรุปข้อมูลบัญชีสินเชื่อ ซึ่งเป็นตัวบอกว่า ลูกค้ามีสินเชื่ออยู่ทั้งหมดกี่บัญชี มีจำนวนบัญชีที่ใช้สิทธิแก้ไขข้อมูลหรือโต้แย้งกี่บัญชี

– ประเภทและเลขที่บัญชีของสินเชื่อ

– ชื่อผู้ให้สินเชื่อ

– วงเงินที่ได้รับอนุมัติ และวงเงินที่ใช้ไป

– สถานะของบัญชี เช่น ปกติ ปิดบัญชี พักชำระหนี้ ค้างชำระหนี้

– รายละเอียดการชำระหนี้ ซึ่งจะแสดงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา ทั้งที่ชำระตรง ชำระล่าช้า หรือผิดนัดชำระ

– ข้อมูลอื่นๆ เช่น วันที่เปิดบัญชี วันที่ชำระหนี้ล่าสุด วันที่ปิดบัญชี วันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ​

เครดิตบูโร มีประโยชน์ยังไง
สำหรับสถาบันการเงิน เครดิตบูโรมีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้เห็นภาพลูกค้า และทำความเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น จากข้อมูลต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในระบบ เช่น หนี้ที่มีตอนนี้ ประวัติการชำระหนี้ หนี้สินต่อรายได้ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังช่วยให้สถาบันการเงินพิจารณาความเสี่ยงลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ประวัติการชำระหนี้ จ่ายตรงเวลา จ่ายช้า หรือค้างจ่ายนานเท่าไหร่ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนเบื้องต้นว่า ลูกหนี้คนไหนดีหรือไม่ดี มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน

เมื่อพิจารณาความเสี่ยงเสร็จแล้ว ก็จะนำไปสู่การตัดสินใจว่าจะปล่อยกู้ให้หรือไม่ ถ้าปล่อยกู้ให้ ข้อมูลเครดิตก็ยังมีผลต่อการคิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้แต่ละคนด้วย ถ้าเสี่ยงน้อย ดอกเบี้ยก็ต่ำ ถ้าเสี่ยงมาก ดอกเบี้ยก็สูง

สำหรับประโยชน์ต่อลูกหนี้ ถ้าเป็นคนที่มีประวัติการชำระหนี้ดี จ่ายเงินตรงเวลา ข้อมูลในเครดิตบูโรก็จะเป็นตัวสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินอยากปล่อยกู้ให้

‘แบล็กลิสต์’ มีจริงหรือความเชื่อ
หลายคนมักจะพูดเสมอว่า เครดิตบูโรเก็บข้อมูลที่เรียกว่า ‘แบล็กลิสต์’ หรืออ้างว่า ‘ติด Blacklist ติดเครดิตบูโร’ ทำให้พอจะกู้ไม่ผ่าน ขนาดเคลียร์หนี้สินตรงนั้นไปแล้วก็ยังติด Blacklist อยู่

แต่จริงๆ แล้วนั้นลักษณะการจัดเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร ไม่ได้จัดเก็บเป็น ‘แบล็กลิสต์’ หรือ ‘บัญชีดำ’ แต่อย่างใด โดย ‘เครดิตบูโร’ ยืนยันว่า บริษัทไม่เคยจัดทำและขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์กับใครไว้ในฐานข้อมูลเลย และในรายงานข้อมูลเครดิตบูโรก็ไม่มีคำว่า ‘แบล็กลิสต์’

แต่เครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลตามความจริง หากจ่ายแล้วก็บอกว่า ‘ปกติ’ หรือ ‘ไม่ค้างชำระ’ แต่ถ้ายังไม่จ่าย ก็บอกว่า ‘ค้างชำระ’ ไม่ว่าจะชำระตรงกำหนดหรือไม่ก็ตาม

โดยถ้าเคลียร์หรือชำระและปิดบัญชีไปแล้ว ทางเครดิตบูโรก็จะระบุตามนั้น เพียงแต่ข้อมูลจะยังไม่ถูกลบออกไปจนกว่าจะถึงกำหนดที่กฎหมายให้เก็บได้

ดังนั้น ‘แบล็คลิสต์’ ของเครดิตบูโรจึง ‘ไม่มีจริง’ มีเพียงการเก็บข้อมูลประวัติการขอสินเชื่อและการผ่อนชำระหนี้ของรายงานของสมาชิกเครดิตบูโรเท่านั้น

กู้ไม่ผ่านเพราะ เครดิตบูโร
ในความเป็นจริงแล้วเครดิตบูโรไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจว่า ลูกหนี้คนไหนจะกู้เงินได้ไม่ได้ ขอสินเชื่อผ่านไม่ผ่าน เพราะเป็นหน้าที่ของแต่ละธนาคารและสถาบันการเงินในการตัดสินใจ

ถึงอย่างนั้น สถาบันการเงินก็อาศัยข้อมูลเครดิตบูโรเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อ อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่ก็ต้องเอาไปรวมกับข้อมูลอื่นอีก เช่น รายได้ ความสามารถในการชำระหนี้คืน หลักประกัน ฯลฯ

ในกรณีที่กู้ไม่ผ่านหรือถูกปฏิเสธสินเชื่อเพราะข้อมูลเครดิตบูโร สถาบันการเงินต้องออกหนังสือชี้แจงให้ชัดเจนว่า ไม่ให้กู้เพราะเครดิตบูโรคือยังไง เช่น มีข้อมูลแสดงว่ามีหนี้ค้าง มีหนี้หรือวงเงินสินเชื่อมากเกินไป

ซึ่งลูกหนี้สามารถนำหนังสือชี้แจงมาตรวจเครดิตกับเครดิตบูโรได้ฟรี ถ้าเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็สามารถยื่นหลักฐานขอกู้กับสถาบันการเงินใหม่ได้

แต่ถ้ากู้ไม่ผ่านเพราะเหตุผลอื่นๆ จะต้องสอบถามไปยังธนาคารนั้นๆ เพราะสถาบันการเงินแต่ละที่มีนโยบายการให้สินเชื่อของตัวเอง และไม่ต้องรายงานข้อมูลให้เครดิตบูโรทราบว่า เพราะอะไรถึงปฏิเสธสินเชื่อ

เครดิตไม่ดีสามารถซ่อมได้
ถ้ามีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี มีการค้างชำระนานกว่า 90 วันขึ้นไป จะทำให้โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนน้อยลงและได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่ดอกเบี้ยที่ต่ำยากขึ้น

แน่นอนว่าในบางครั้ง ‘ปัญหาเครดิต’ อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ปัญหาเครดิตไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วต้องอยู่ตลอดไป เพราะมันสามารถซ่อมได้

ถึงในอดีตเราจะเคยมีปัญหาค้างชำระ หรือจ่ายช้าบ้างบางงวด แต่ถ้าปัจจุบันสามารถกลับมาชำระได้ตามปกติ รายงานข้อมูลเครดิตก็จะถูกปรับสถานะกลับมาเป็น ‘สถานะปกติ’ ในรอบเดือนถัดไป

โดยสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาและใช้ข้อมูลจากรายงานในระยะเวลาที่แตกต่างกัน บางแห่งอาจจะดูจากประวัติการผ่อนชำระย้อนหลัง 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน หรือ 18 เดือน ว่าเรามีวินัย และความสามารถในการผ่อนชำระตรงต่อเวลามากน้อยขนาดไหน

ดังนั้น ทางที่ดีควรผ่อนชำระให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอจนครบสัญญาหรืออย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อสร้างเครดิตที่ดีในรายงานของเครดิตบูโร เพื่อจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อง่ายและได้ดอกเบี้ยต่ำ

ข้อเสนอยกเลิกแบล็กลิสต์
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า เครดิตบูโรไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลบัญชีดำ แต่ข้อมูลเครดิตเปรียบเสมือนรายงานผลการศึกษา คือ จะรายงานตามผลจริงที่เกิดขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขประวัติเดิมได้

หากเราเคยค้างชำระหนี้ไว้ ข้อมูลก็จะขึ้น ณ เดือนที่เราค้างชำระว่า ‘ค้างชำระ’ แต่ถ้าจ่ายหนี้ที่ค้างไปแล้ว จะมีข้อมูลใหม่ขึ้นมาว่า ชำระเรียบร้อยแล้วหรือปิดบัญชีแล้ว

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการค้างชำระเดิมจะไม่ได้ถูกลบออกไป จนกว่าข้อมูลชุดนั้นจะถูกลบออกไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 3 ปีหรือ 36 เดือน

สำหรับคนที่เป็นหนี้มาก เป็นหนี้หลายที่จนจ่ายไม่ไหว ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มี ‘คลินิกแก้หนี้’ มาช่วยเหลือ ซึ่งปลายทางหากกลับมาชำระได้ตามปกติ ก็สามารถกลับมาเป็นลูกหนี้ที่มีคุณภาพได้เช่นเดียวกัน

ค้างค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่ติดเครดิตบูโร
เครดิตบูโรจะรายงานเฉพาะหนี้ที่เราไปขอกู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน ซึ่งก็คือพวกสินเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งต้องเป็นสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติและมีประวัติการชำระหนี้เท่านั้น

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ เหล่านี้ จะไม่มีประวัติอยู่ในเครดิตบูโร ซึ่งเรื่องนี้ก็มีคนกังวลและสอบถามไปยังเครดิตบูโรเช่นกัน

โดยผู้ถามค้างค่าโทรศัพท์มาประมาณ 1 ปี กังวลว่าจะติดเครดิตบูโรและทำให้ขอสินเชื่อยากขึ้นหรือไม่ ซึ่งเครดิตบูโรให้คำตอบว่า

‘ปัจจุบันนี้ประวัติการชำระค่าโทรศัพท์มือถือยังไม่ถูกนำส่งมาที่บริษัทข้อมูลเครดิต จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ แต่ทางที่ดี คุณน่าจะไปชำระค่าโทรศัพท์ที่ค้างไว้’

สรุป
หลายคนที่กำลังจะซื้อรถ หรือแม้กระทั่งซื้อบ้าน หรือทำธุรกรรมทางเงินอะไรก็แล้วแต่ อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับคำว่าแบล็กลิสต์ หรือเครดิตบูโร กลัวว่าจะไม่สามารถขออนุมัติสินเชื่อได้ แต่ความจริงแล้วคำสองคำนี้ มีความหมายต่างกันอย่างชัดเจน และเครดิตบูโรก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับแบล็กลิสต์ด้วย!

อ้างอิง
https://workpointtoday.com/

https://mydeedees.com/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%9a%e0%b8%b9%e0%b9%82%e0%b8%a3-%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2/