[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
เด็กน้อย บนดอยสูง กับ จิตอาสา ปันสุขก็สุขใจ  VIEW : 66    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 538
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 18
Exp : 80%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.81.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 22 เดือน เมษายน พ.ศ.2566 เวลา 12:16:58   

รายงานการศึกษา : จิตอาสา ‘ปันสุขก็สุขใจ’ ให้ ‘เด็กน้อย’ บนดอยสูง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำยังคงเป็นประเด็นสำคัญในบริบทของการศึกษา และสังคมไทย ทั้งภูมิประเทศ ความหลากหลายของชาติพันธุ์ การตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคม

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป จำกัด ส่งมอบพื้นที่แห่งโอกาส และแบ่งปันความสุขให้เยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล นำทีมพนักงานในองค์กร และทีม GOLDGEAR 4×4 จัด “โครงการปันสุขก็สุขใจ ปี 2565” โดย “มูลนิธิคนดี ดี-แลนด์” เพื่อสานต่อภารกิจส่งเสริม และพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กๆ
ในถิ่นทุรกันดาร ครั้งนี้เดินทางไปร่วมปรับปรุงห้องเรียน ห้องสมุด รวมทั้ง ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา เครื่องนุ่งห่มกันหนาว และเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับน้องๆ โรงเรียนบ้านหนองบัว ห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

นายเพิ่มเกียรติ โพธิ์เพียรทอง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า บริษัทเริ่มต้นจากโครงการเมื่อปี 2558 และปี 2563
ก่อตั้งมูลนิธิคนดีฯ นำทีมจิตอาสา และพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมกันสานต่อพลังแห่งการให้ อาทิ ปรับปรุงห้องเรียน ห้องสมุด สนามเด็กเล่น
โรงอาหาร มอบอุปกรณ์การเรียน มอบเงินบริจาคให้โรงพยาบาล เป็นต้น เพื่อช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสร้าง
โอกาสให้เยาวชนพื้นห่างไกล มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ครูนุ นายสกุลชัยฐ์ ซิโนชัยสกุล โรงเรียนบ้านหนองบัวฯ วัย 43 ปี จาก จ.ร้อยเอ็ด สู่การเป็นครู “ผู้ให้” บนดอยสูง เล่าว่า
ไทยมีโรงเรียนบนพื้นที่สูงกว่า 1,000 แห่ง มีบริบทที่แตกต่างจากโรงเรียนพื้นที่ราบ และชุมชนเมือง ความยากลำบากในการเดินทาง การเข้าถึงไฟฟ้า
แหล่งน้ำ นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่น และมาจากครอบครัวยากจนสูง เช่นเดียวกับโรงเรียนบ้านหนองบัวฯ เป็นห้องเรียนสาขาที่ไกลที่สุดในเขต อ.ท่าสองยาง ห่างจากตัวอำเภอ 45 กิโลเมตร การเดินทางลำบาก สอนชั้นอนุบาล-ป.6 มีนักเรียน 76 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

“สำหรับผมแล้วการเป็นครู ไม่ได้แค่ให้การศึกษา แต่ครูทุกคนที่นี่ เป็นทุกอย่างให้กับเด็กๆ แม้บางครั้งจะเหนื่อยล้าบ้าง แต่สร้างความสุข
ผมอยากเห็นเด็กๆ เติบโตเป็นคนดี มีน้ำใจ มีความรู้ติดตัว ดูแลตัวเอง และครอบครัวได้ พวกเขาอาจไม่ได้เรียนเก่งที่สุด หรือเรียนสูงที่สุด
อย่างน้อยต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาที่พึงได้อย่างเท่าเทียม” ครูนุ กล่าว

เรามีโอกาสพูดคุยกับนักเรียนตัวน้อย น้องทิลา ด.ญ.พิชชาภา ผกาดอกไม้ ชั้น ป.6 เล่าว่า
โรงเรียนเล็กๆ แห่งนี้ เหมือนบ้านอีกหลัง ครอบครัวพวกหนูเป็นชาวกะเหรี่ยง พ่อ แม่ และผู้ใหญ่ ต้องทำงานหนักมากๆ เพื่อหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว พวกหนูมีหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว เช่น เลี้ยงน้อง และทำงานบ้าน เพราะพ่อแม่บอกให้ตั้งใจเรียน โตขึ้นจะได้มีความรู้ติดตัว มีงานทำดีๆ ช่วยเหลือตัวเอง และคนรอบข้างได้ โตขึ้นหนูอยากเป็นพยาบาล จะได้ช่วยคุณครูดูแลทุกคนในหมู่บ้าน

ปิดท้ายที่ น้องมณ ด.ญ.มณฑิตา ไพรบุญพำนัก อายุ 11 ปี ชั้น ป.5 เสริมว่า บ้านหนูอยู่ห่างจากโรงเรียนมาก ทำให้ต้องอยู่ประจำ ช่วงกลางวันเรียนหนังสือ และแบ่งเวรไปช่วยคุณครูทำอาหาร ดูแลแปลงผัก เลี้ยงไก่ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหาร ทุกคนจะได้กลับบ้านช่วงปิดเทอม หรือเสาร์-อาทิตย์ แต่ช่วงโควิด-19 ระบาด โรงเรียนปิด พวกเราต้องแยกย้ายไปอยู่บ้านตัวเอง การเรียนต้องพักไว้ เรียนออนไลน์ไม่ได้ เพราะที่บ้านไม่มีโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ไม่มีไฟฟ้า มีแต่ครูที่คอยขับรถเข้าไปสอนพวกเราถึงที่บ้าน โดยไม่บ่นว่าเหนื่อยเลย โตขึ้นหนูอยากเป็นครู อยากแบ่งปันความรู้ให้นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล

รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะจากเด็กๆ ในถิ่นทุรกันดาร โรงเรียนบ้านหนองบัว ห้องเรียนสาขาบ้านมอเคลอะคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก สะท้อนถึงความสุข สุขใจเมื่อเป็นผู้ให้ และอิ่มใจเมื่อเป็นผู้รับ ขับเคลื่อนสังคมแห่งการเอื้อเฟ้อเกื้อกูล และมีความสุขอย่างยั่งยืน
https://have-a-look.net/2023/04/17/%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2-%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87-%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-%e0%b8%88%e0%b8%b4/