[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
ท่านั่งแบบไหน ที่อาจทำให้คุณปวดหลังได้  VIEW : 92    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 576
ตอบแล้ว : 2
เพศ :
ระดับ : 19
Exp : 49%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.2.185.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 18:50:26   

นั่งทำงานเฉยๆ ดูเหมือนจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเพราะไม่ได้ใช้แรงงานอะไรที่หนักหน่วง
แต่เชื่อหรือไม่ว่าการ “นั่งเฉยๆ” ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ อันตรายไม่แพ้ผู้ใช้แรงอื่นๆ เลยทีเดียว ยิ่งใครที่เป็นหนักถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัดกันเป็นปีๆ เสียเงินเป็นหมื่นๆ ก็มี ท่านั่งอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง มาดูกันค่ะ

ท่านั่งอันตราย ปวดหลัง-ไหล่ไม่รู้จบ
1. นั่งไขว่ห้าง

คิดว่าหลายคนน่าจะทราบกันดีกว่า ท่านั่งไขว่ห้างอาจทำให้เราดูบุคลิกดี แต่เมื่อเราลงน้ำหนักไปที่ขาและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บวกกับโลหิตบริเวณขาไหลเวียนได้ไม่ค่อนดี นอกจากจะเมื่อยหนักกว่าแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อสะโพก เอว หลัง ยาวไปถึงหลังศีรษะผิดรูป กล้ามเนื้อข้างกระดูกไม่สมดุล กระดูกชายโครงเกร็งรั้ง และอาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอ เส้นประสาททำงานผิดปกติ จนไปถึงหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ที่โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศได้

2. นั่งหลังค่อม พุงแอ่น

นอกจากบุคลิกจะไม่ดีแล้ว การนั่งหลังค่อมยังทำให้กระดูกสันหลังงอ ยิ่งถ้าอยู่ท่าเดิมไปนานๆ โดนไม่ขยับเลย จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดอาการคั่งของกรดแล็คติค จนมีอาการเมื่อยล้าตลอดเวลา และกระดูกคดงอผิดรูปถาวรได้

3. นั่งเบาะไม่เต็มก้น

ลองสังเกตดูดีๆ หลานคนนั่งแค่ครึ่งเบาะ หลังไม่พิงเบาะ จึงเป็นเหตุให้หลังค่อมโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังทำให้กล้าเนื้อหลังทำงานหนักมากขึ้น เพราะฐาน (ก้น) รับรองน้ำหนักที่ได้ไม่เต็มที่

 

4. นั่งขัดสมาธิ

สาวๆ หลายคนชอบเอาขาขึ้นมานั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ การนั่งท่าขัดสมาธินานๆ อาจทำให้เป็นเหน็บชา เนื่องจากโลหิตไหวเวียนได้ไม่สะดวก และใครที่มีความเสี่ยง เช่น น้ำหนักตัวเยอะ อายุมากขึ้น หรือมีปัญหาเรื่องกระดูก การนั่งขัดสมาธินานๆ ยังอาจเป็นสาเหตุของอาการข้อเข่าเสื่อมได้

5. นั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่ง

ประเภทที่ยกขาขึ้นมา แล้วเอาขาอีกข้างทับขา หรือเท้าของตัวเอง ทำให้โลหิตไหลเวียนไม่สะดวกเหมือนท่านั่งอื่นๆ นอกจากนี้ยังเสี่ยงอาการกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลังคดงอได้เหมือนกับท่านั่งไขว่ห้างเช่นเดียว เพราะความไม่สมดุลขอขาทั้งสองข้างนั่นเอง

6. นั่งยกไหล่

หลายคนไม่ทันสังเกตตัวเองว่าเป็นคนที่นั่งยกไหล่อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา สาเหตุที่ยกไหล่โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะตำแหน่งของเบาะเก้าอี้ และโต๊ะวางคอมพิวเตอร์ไม่สัมพันธ์กัน อาจจะเบาะเก้าอี้ต่ำเกินไป หรือโต๊ะอยู่สูงเกินไป จึงทำให้เวลาพิมพ์งาน หรือใช้เม้าส์ ต้องยกไหล่ขึ้นมาเพื่อทำงานให้ถนัดมากยิ่งขึ้น เป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่ และปวดหลังเรื้อรังได้

7. นั่งพิมพ์คอมที่วางบนตัก

หากมีเหตุุฉุกเฉินที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คในขณะที่ไม่มีโต๊ะ หลายคนมักวางบนตักแล้วนั่งพิมพ์ และอาจจะนั่งอยู่ท่านั้นนานๆ หากสังเกตดีๆ การที่แป้นพิมพ์ และหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำเกินไป ทำให้เราก้มลงมองจอคอม จนอาจมีอาการปวดคอ ปวดหลังโดยไม่รู้ตัว

ท่านั่งเพื่อสุขภาพที่ดี บรรเทาอาการปวดเมื่อย

ควรนั่งด้วยท่านั่งธรรมดา ขาปล่อยตรงตามสบายทั้งสองข้าง หลังติดเบาะเก้าอี้ หากเก้าอี้มีที่วางแขนก็ควรใช้ ปรับความสูง-ต่ำของเก้าอี้ และโต๊ะทำงานให้ข้อมือ กับข้อศอกอยู่ในระนาบเดียวกัน ไหล่กับข้อศอกทำมุมฉาก 90 องศา

หากใครที่จำเป็นต้องนั่งทำงานนานๆ สิ่งที่อยากให้จำให้ขึ้นใจคือ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่านั่งนานๆ หรืออาจจะเปลี่ยนท่านั่งบ้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นท่าไขว่ห้าง หรือนั่งขัดสมาธิ คุณสามารถนั่งได้บ้าง แต่ต้องอย่านั่งท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 15-20 นาที ยืดแขนยืดขา ลุกขึ้นเดินบ้าง ก็จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณไหล่ หลัง แขน หรือขาได้อย่างง่ายๆ ค่ะ

ขอเสริมอีกนิด หากเราสวมเสื้อผ้าที่ทะมัดทะแมง แต่รูปทรงสบายตัว ไม่บีบรัดขา สะโพก เอว หรือลำตัวมากเกินไป ก็จะทำให้เราเปลี่ยนอิริยาบถในการนั่งได้มากขึ้น ลดปัญหาปวดเมื่อยได้เช่นกันค่ะ

https://mydeedees.com/%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%99-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%83/