[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
“ต่อ-ผึ้ง-แมลง” กัดต่อย ควรรีบพบแพทย์ อาจเสี่ยงแพ้รุนแรง-เสียชีวิต  VIEW : 286    
โดย 2334

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.27.181.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 5 เดือน มกราคม พ.ศ.2565 เวลา 02:53:32   

“ต่อ-ผึ้ง-แมลง” กัดต่อย ควรรีบพบแพทย์ อาจเสี่ยงแพ้รุนแรง-เสียชีวิต
S! Health (Rewrite)
สนับสนุนเนื้อหา

สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์  เตือนประชาชนหากถูกแมลงมีพิษกัด  เช่น ต่อหัวเสือ แตน ผึ้ง และกลุ่มมดมีพิษ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า แม้ว่าจะโดนแมลงสัตว์กัดต่อย โดยได้มีการนำเหล็กในออกจากแผลแล้ว แต่ยังเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ หากผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรง เป็นปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วร่างกาย โดยอาจมีความรุนแรง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้


แมลง... หนึ่งในอันตรายที่คนไทยมีอาการแพ้รุนแรง
ในประเทศไทย พบ 0.19  คนต่อผู้ป่วยในแสนคน สามารถเป็นซ้ำได้ 1 รายต่อผู้ป่วย 12 รายต่อปี สาเหตุมีได้หลายอย่าง โดยอาหารเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุรองลงมา ได้แก่ยาปฏิชีวนะ ถัดมาเกิดจากแมลง โดยมักเกิดจากแมลงตระกูล Hymenoptera ได้แก่ ต่อหัวเสือ แตน ผึ้ง และกลุ่มมดมีพิษ


ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มความรุนแรงของอาการแพ้
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ  ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความรุนแรงของโรคเป็นมากขึ้น ได้แก่

อายุ (ผู้ใหญ่)

โรคประจำตัว

ยาที่ใช้อยู่ 

อาการที่เกิดขึ้น เมื่อมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
การแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) มักเกิดภายในเวลา 5-30 นาที ภายหลังการได้รับสิ่งกระตุ้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

อาการทางผิวหนัง เป็นลักษณะลมพิษ อาจมีอาการบวมมากที่ผิวหนัง รองลงมาได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด


วิธีปฐมพยาบาล เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำว่า ในภาวะนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรปฏิบัติดังนี้

ต้องรีบส่งต่อผู้ป่วยเข้าสถานบริการทางการแพทย์หรือรถฉุกเฉินโดยด่วนที่สุด

ควรจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย

ถ้าสามารถเอาสาเหตุออกได้ (เช่น เอาเหล็กในออก) ก็ควรทำ

หากพบในสตรีมีครรภ์ให้จับนอนตะแคงซ้าย

ภาวะนี้มีความจำเป็นจะต้องได้ยาฉีดน้ำเกลือ และออกซิเจนอย่างด่วนที่สุด

ผู้ป่วยควรจะต้องถูกสังเกตอาการในโรงพยาบาล

ควรจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุ และลดโอกาสเป็นซ้ำ

สำหรับผู้ป่วยที่เคยเกิดภาวะแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) มาก่อน จะต้องมียาฉีดอิพิเนฟริน (Epinephrine) ติดตัวไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
ขอขอบคุณ

ข้อมูล :สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์