[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน ออกอย่างไรให้แข็งแรงและปลอดภัย  VIEW : 403    
โดย 2708

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 40%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.25.93.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 1 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2563 เวลา 10:38:47   

 การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน ออกอย่างไรให้แข็งแรงและปลอดภัย
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ | โดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

การออกกำลังกาย-สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน
หลายคนมีความคิดว่า การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน นั้นไม่เหมาะสม เพราะหากออกกำลังกายแล้วเกิดหกล้มขึ้นมา อาจเสี่ยงกระดูกหัก เจ็บตัวขึ้นมาได้ แต่จริง ๆ แล้วนั้นผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุนนั้นสามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน เพียงแค่ควรเลือกกีฬาที่มีความเหมาะสมกับร่างกาย เลือกโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ป้องกันการหกล้ม เท่านี้ก็ช่วยให้ออกกำลังกายได้แล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกพรุนมาฝากกันค่ะ

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) คืออะไร
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่ทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบางลง เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายเกิดการสูญเสียมวลกระดูกมากเกินไป และไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนกระดูกที่เสียไปได้ทันเวลา เป็นผลทำให้กระดูกนั้นอ่อนแอและเปราะบางลง บางครั้งกระดูกอาจจะแตกหักได้ เมื่อเกิดการกระแทก หรือแค่เพียงการจามก็ทำให้กระดูกนั้นหักได้ เมื่อทำการส่องกล้องจะเห็นว่ากระดูกที่พรุนนั้นจะมีรูเหมือนรังผึ้งเต็มไปหมด ยิ่งกระดูกพรุนมาก รูที่กระดูกก็จะยิ่งกว้างและใหญ่ขึ้น ซึ่งหมายความว่ากระดูกของเรานั้นไม่มีความหนาแน่น เมื่อกระดูกหนาแน่นน้อยลงก็จะยิ่งทำให้กระดูกอ่อนแอและมีแนวโน้มที่กระดูกพร้อมจะแตกหักได้อย่างง่ายดาย

เริ่มต้น การออกกำลังกาย สำหรับเสริมสร้างกระดูก อย่างไรดี
ผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุนนั้น ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่รักษาอยู่เป็นประจำก่อน เพื่อให้พวกเขาประเมินถึงอาการป่วยโรคกระดูกพรุน ความพร้อมของร่างกาย และน้ำหนักว่าควรออกกำลังกายระดับใดจึงมีความปลอดภัย ร่างกายของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นไม่มีแผนการออกกำลังกายใดที่ดีที่สุด แต่ควรลองออกตามคำแนะนำของแพทย์แล้วประเมินตนเองว่าเหมาะกับเราหรือไม่ โดยการเลือกออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุนนั้นก็ต้องคำนึงถึง

ความเสี่ยงต่อการแตกหัก
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ระดับการออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหว
ความสมดุลของร่างกาย
โดยแพทย์จะพิจารณาร่วมกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่มีผลต่อความสามารถในการออกกำลังกาย เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ บางครั้งคุณอาจได้ออกกำลังกายกับนักกายภาพบำบัดเป็นพิเศษ ซึ่งเขาจะเน้นการออกกำลังกายที่เกี่ยวกับกลไกของร่างกายและความสมดุล น้ำหนัก และแรงต้าน ร่วมกับเทคนิคในการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ

รูปแบบ การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน
การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-Bearing Exercises)
การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักที่ขาและเท้า ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ การออกกำลังกายที่ได้รับผลกระทบสูงและผลกระทบต่ำ

รูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับผลกระทบสูง เช่น การเดิน ไทเก็ก เต้นรำ ซึ่งการออกกำลังรูปแบบนี้เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น ป้องกันการสูญเสียกระดูก อีกทั้งยังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย แต่ก็ต้องมีการระมัดระวังไม่ออกกำลังกายที่กระดูกได้รับแรงกระแทกสูง เพราะอาจทำให้ไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่อการกระดูกหักได้ สำหรับบางคนที่ความหนาแน่นของกระดูกน้อยเสี่ยงต่อการหักได้ง่าย อาจลองออกกำลังกายแบบที่มีผลกระทบต่ำ อย่างเช่น การเดินบนเครื่องเดินวงรี การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีแรงกระแทกต่ำ การเดิน

การออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็มีความสำคัญพอ ๆ กับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก การที่ร่างกายมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงนั้นก็มีส่วนช่วยในการชะลอการสูญเสียกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกพรุนได้ และยังมีส่วนช่วยป้องกันการแตกหักที่เกิดจากแรงกระแทกอีกด้วย การออกกำลังรูปแบบนี้ร่วมถึงการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น การยืนบนปลายนิ้วเท้า หรือการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว อย่าง ซิทอัพ วิดพื้น สควอช หรือจะเป็นการออกกำลังกายที่ใช้เครื่อง อย่าง เครื่องยกน้ำหนัก (Weight machines) การยกน้ำหนัก การออกกำลังกายด้วยยางยืด

การออกกำลังกายที่สร้างความสมดุลและการยืดหยุ่น
การเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่วิธีการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก แต่เป็นวิธีการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของร่างกาย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียกระดูก กระดูกหัก อย่างการออกกำลังกายด้วยไทเก็ก ก็เป็นการช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกาย สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพื่อให้เราไม่ล้มได้ง่าย  หรือจะเป็นการออกกำลังกายด้วยโยคะหรือพิลาทิสก็ช่วยสร้างความยืดหยุ่นของร่างกายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการเล่นโยคะบางท่าที่จะต้องมีการเอี่ยวหรือบิดตัวมากๆ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการกดทับของกระดูกสันหลังได้สำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุน

การออกกำลังกายนั้นเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการบรรเทาของโรคกระดูกพรุน แต่จำไว้ว่าการได้รับแคลเซียม วิตามินดี มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรามากเกินไป เป็นวิธีที่ดีที่สุดช่วยบรเทาอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างยั่งยืน สำหรับบางคนอาจต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ยาเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก

นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุนควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ต้องได้รับแรงกระแทกสูง เช่น การกระโดด การวิ่ง เพราะอาจเกิดความเสี่ยงทำให้กระดูกหักได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายที่จะต้องมีการหัก หรือบิดร่างกาย เช่น การออกกำลังกายที่ต้องก้มไปข้างหน้าเพื่อแตะเท้าหรือการบิดตัว บิดเอว เพราะการออกกำลังกายแบบนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการกดทับของกระดูกสันหลังได้ หากคุณมีปัญหากระดูกพรุน นอกจากนี้กีฬาบางอย่าง เช่น กอล์ฟ เทนนิส โบลลิ่ง ก็ไม่ควรเล่นเพราะมีการบิดตัวที่รุนแรง และบิดตัวบ่อย

อ่านเพิ่มเติม:

กระดูกพรุน (Osteoporosis)
ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหาร และประจำเดือนขาด
คนข้ามเพศ กับ โรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร