[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
“ท้องเสีย-ถ่ายเหลว” ควรใช้ยาอะไรบ้าง?  VIEW : 821    
โดย 4583

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 178.128.117.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2562 เวลา 17:16:41   

“ท้องเสีย-ถ่ายเหลว” ควรใช้ยาอะไรบ้าง?
Jurairat N.

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

ไม่ว่าจะฤดูไหน ในเมืองไทยก็เสี่ยงอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรืออาหารเป็นพิษได้ทั้งปี เพราะอากาศร้อนชื้นในบ้านเราทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย อาหารบางประเภทมีเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ภายในไม่กี่นาทีที่ทำเสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้โดยไม่อุ่นร้อน หรือนำเข้าตู้เย็น (>> อาหารเสี่ยง “ท้องเสีย-ท้องร่วง-อาหารเป็นพิษ” ช่วงหน้าร้อน) หากมีอาการท้องเสียแล้ว ควรกินยาอะไรบ้าง และควรปฏิบัติอย่างไรถึงจะถูกต้อง


ถ่ายแบบไหน ถึงเรียกว่า “ท้องเสีย”
อาการท้องเสีย คือการถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือมีกากใยอาหารเพียงเล็กน้อย โดยหากมีอาการถ่ายในลักษณะนี้มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชั่วโมง สันนิษฐานได้ว่ากำลังมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น

>> “ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?


“ท้องเสีย-ถ่ายเหลว” ควรใช้ยาอะไรบ้าง?
ผงเกลือแร่โออาร์เอส (ORS)
สรรพคุณ : ชดเชยการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่จากการถ่ายเหลวบ่อยๆ

วิธีใช้

เทผงเกลือแร่ลงในแก้ว เติมน้ำดื่มสะอาด หรือน้ำต้มสุกลงไปตามปริมาณที่ระบุเอาไว้ในฉลากผลิตภัณฑ์ (ซองยา) ดื่มจนหมด หรือค่อยๆ จิบถ้ามีอาการคลื่นไส้

ยาผงถ่าน (คาร์บอน)
สรรพคุณ : ลดอาการแน่นท้อง และทำให้อุจจาระเหลวน้อยลง (ไม่ใช่ยาหยุดถ่าย)

วิธีใช้

ดูวิธีกินจากฉลากของยา เพราะยาผงถ่านมีหลายชนิด แต่โดยทั่วไปจะเป็นการกินที่ครั้งละ 2 เม็ด หรือ 3-4 เม็ด ทันทีที่มีอาการ

กินทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ตามความรุนแรงของอาการท้องเสีย

หากยังถ่ายบ่อย หรือยังถ่ายเป็นน้ำอยู่ ให้กินยาให้ถี่ขึ้น

ไม่ควรกินยาผงถ่านเกินวันละ 16 เม็ด
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา : ยาคาร์บอน ไม่ใช่ “ยาหยุดถ่าย” เป็นเพียงยาที่เข้าไปช่วยดูดซับสารเคมี สารพิษ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษออกมาผ่านอุจจาระ อาจช่วยลดอาการถ่ายท้องในรายที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้

หากเป็นอาการท้องเสียที่ไม่ได้มีการติดเชื้อ (ถ่ายเหลว แต่ไม่ได้ปวดบิด อาเจียน หรือมีไข้ร่วมด้วย) ร่างกายจะค่อยๆ หยุดถ่ายไปได้เอง อาจไม่จำเป็นต้องทานยาคาร์บอน เราควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไปจากการถ่าย เพื่อป้องกันอาการช็อกจากการขาดน้ำกะทันหันแทน (ทั้งนี้ หากถ่ายเกิน 10 ครั้งแล้วอ่อนเพลียมาก ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการถ่ายเหลวในครั้งนั้นๆ จะดีกว่า)

>> ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?


ยาโลเพอราไมด์
เช่น อีโมเดียม หรือโลเพอราไมด์ จีพีโอ

สรรพคุณ : ใช้ในกรณีที่จิบน้ำเกลือแร่ และกินยาผงถ่านแล้วยังไม่ดีขึ้น

วิธีใช้

ห้ามกินหากถ่ายเป็นมูกเลือด

กิน 2 เม็ดในครั้งแรก และกินซ้ำครั้งละ 1 เม็ดทุกครั้งที่ถ่ายเหลว

ห้ามกินเกิน 8 เม็ดต่อวัน
หากทำทั้ง 3 วิธีนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้ง

ข้อควรระวัง : ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานเอง ควรขอคำปรึกษาจากเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้ง โดยเฉพาะยาหยุดถ่าย และยาฆ่าเชื้อ เพราะเสี่ยงอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ยาหยุดถ่ายอาจทำให้ร่างกายขับเชื้อโรคออกมาได้ไม่หมด (หากเป็นอาการท้องเสียจากอาการติดเชื้อ ร่างกายจะพยายามกำจัดเชื้อโรคด้วยการขัยถ่าย) หรือยาฆ่าเชื้อ หากกินเมื่อไม่ได้มีเชื้อโรคอะไร หรือรับประทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอาการดื้อยาได้ เป็นต้น

>> ท้องเสีย ไม่จำเป็นต้องทานยาฆ่าเชื้อ เสี่ยงเอ็นอักเสบ-เอ็นขาดทั้งตัว

>> อาการท้องเสียแบบไหน? ต้องใช้ “ยาฆ่าเชื้อ”

>> “ท้องเสีย” ควร-ไม่ควรทานอาหารอะไรบ้าง?

>> วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการ "ท้องร่วง-ท้องเสีย"

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :ผศ.นพ. พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก ถอนได้ 2019
โดย UFA369 เว็บเกมส์ UFABET อันดับ 1 ของไทย
สมัคร แทงบอลออนไลน์ กับเว็บที่ดีที่สุด