[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
สาเหตุของโรคโปลิโอ  VIEW : 652    
โดย 1122

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 162
ตอบแล้ว : 6
เพศ :
ระดับ : 10
Exp : 47%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 209.97.168.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2562 เวลา 12:46:02   

เชื้อที่เป็นสาเหตุ : โรคโปลิโอเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เช่นเดียวกับไวรัสที่ก่อโรคมือเท้าปาก โดยเชื้อไวรัสโปลิโอจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดย่อย 1, 2 และ 3 และแต่ละชนิดย่อยจะแบ่งย่อยได้อีก 2 สายพันธุ์ คือ

เชื้อไวรัสโปลิโอ (Poriovirus)

สายพันธุ์รุนแรงก่อโรค (Wild strain) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังและกวาดล้าง โดยปัจจุบันยังพบสายพันธุ์รุนแรงนี้ใน 2 ประเทศ คือ อัฟกานิสถานและปากีสถาน
สายพันธุ์วัคซีน (Vaccine strain หรือ Sabin strain) เป็นการทำให้เชื้อไวรัสโปลิโอทั้ง 3 ชนิดย่อยอ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ แล้วนำมาใช้เป็นวัคซีนชนิดหยด หรือที่เรียกกันว่า OPV (Oral polio vaccine) เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม ไวรัสโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลจนสามารถทำให้เกิดสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์ และก่อให้เกิดโรคโปลิโอได้ ซึ่งการเกิดนี้มักจะเกิดในชุมชนที่มีระดับความครอบคลุมของวัคซีนโปลิโอค่อนข้างต่ำเป็นระยะเวลานาน ส่วนในประเทศไทยเองก็ไม่พบสายพันธุ์รุนแรงก่อโรคมามากกว่า 10 ปีแล้ว อีกทั้งความครอบคลุมของการให้วัคซีนก็อยู่ในระดับสูง คือ มากกว่า 90% จึงทำให้ยังไม่พบสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์แต่อย่างใด
ทั้งนี้ แต่ละชนิดย่อยสามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ แต่ชนิดย่อยที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่พบบ่อยที่สุดคือชนิด 1 รองลงมาคือชนิด 3 ส่วนชนิด 2 นั้น พบได้ไม่บ่อย และเมื่อติดเชื้อย่อยชนิดหนึ่งแล้วร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดกับเชื้อชนิดย่อยนั้น ๆ (แม้จะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม) แต่จะไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดย่อยอื่น ๆ ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้วจึงมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ถึง 3 ครั้ง (จากเชื้อทั้ง 3 ชนิดย่อย) แต่ก็ยังพบได้น้อย

กลุ่มเสี่ยง : การติดเชื้อไวรัสโปลิโอมักพบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เท่ากัน คนทั่วไปมีโอกาสติดเชื้อโปลิโอได้ง่าย แต่มีน้อยรายที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (อัตราการติดเชื้อและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีอายุมากขึ้น) และเนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ เชื้อจึงถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระและแพร่ไปสู่ผู้อื่นผ่านการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ล้างก่อนกินอาหาร โรคนี้จึงมักพบในประเทศที่ด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาที่ขาดการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดี

การติดต่อ : เชื้อไวรัสโปลิโอมีแหล่งรังโรคอยู่ในลำไส้ของคน เชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ในลำไส้ของคนที่ไม่มีภูมิต้านทานและอยู่ภายในลำไส้ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อถูกขับถ่ายออกมาภายนอกจะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ และเชื้อจะอยู่ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อมได้ไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อน (อายุครึ่งชีวิตของเชื้อไวรัสโปลิโอ (Half life) คือ ประมาณ 48 ชั่วโมง) เชื้อสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ง่ายมาก หากผู้ที่ได้รับเชื้อยังไม่มีภูมิคุ้มกันก็จะมีการติดเชื้อเกือบทุกราย โดยการติดเชื้อจะติดต่อได้จากการกลืนหรือสูดเอาเชื้อเข้าไปในร่างกาย (เชื้อจะออกมากับสารคัดหลั่งบริเวณลำคอในขณะที่ผู้ป่วยไอหรือจาม และออกมากับอุจจาระแล้วเข้าสู่ร่างกายผู้อื่นทางปาก แล้วแพร่สู่ผู้อื่นผ่านการกลืนเชื้อที่ติดอยู่ที่คอจากลมหายใจหรือจากการกลืนเข้าไปพร้อมกับน้ำ นม หรืออาหารที่มีเชื้อโรคนี้ปนเปื้อนอยู่ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า สามารถติดต่อทางแมลง ขยะ หรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระ) ในพื้นที่ที่มีอนามัยส่วนบุคคลและการสุขาภิบาลไม่ดี จะพบโรคโปลิโอได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และจะเป็นการติดต่อทางอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเข้าสู่อีกคนหนึ่งโดยผ่านทางปาก (Fecal-oral route) ส่วนในประเทศที่มีระดับสุขาภิบาลและการอนามัยส่วนบุคคลที่ดี การติดต่อส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อทางน้ำลาย (Oral-oral route) โดยเชื้อที่เพิ่มจำนวนในลำคอหรือทางเดินอาหารส่วนบน และถูกขับออกมาพร้อมกับสารคัดหลั่งบริเวณลำคอออกมาทางปาก

ระยะฟักตัวของโรคโปลิโอ (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) : ประมาณ 7-14 วัน แต่อาจนานถึง 35 วัน หรือสั้นเพียง 3-4 วันก็ได้ และสามารถแพร่เชื้อทางเสมหะได้ตั้งแต่ประมาณ 7 วันก่อนมีอาการไปจนถึง 14 วันหลังป่วย ส่วนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระจะอยู่ได้นานประมาณ 1-2 เดือน หรืออาจนานถึง 4 เดือน

กลไกการเกิดโรคโปลิโอ : เมื่อเชื้อไวรัสโปลิโอเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทาน เชื้อไวรัสจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในบริเวณคอหอยและลำไส้ ในอีก 2-3 วันต่อมาก็จะกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอที่ทอนซิลและที่ลำไส้ และเข้าสู่กระแสเลือดทำให้ผู้ป่วยมีอาการ (ไข้) เกิดขึ้น ส่วนน้อยของเชื้อไวรัสจะผ่านจากกระแสเลือดเข้าสู่ไขสันหลังและสมองโดยตรง หรือบางส่วนอาจผ่านไปไขสันหลังโดยทางเส้นประสาท และเมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปยังไขสันหลังแล้ว เชื้อก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron) ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั้งกล้ามเนื้อเรียบ (เป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในที่ทำงานได้เองโดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสมอง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อของลำไส้) และกล้ามเนื้อลาย (กล้ามเนื้อแขน ขา) ทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดอาการอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตในที่สุด

 

Manual Link

แทงบอลออนไลน์ UFA23.com เว็บไซต์อันดับหนึ่ง
เว็บมาตรฐานระดับสากลการันตีด้วยประสบการณ์ในการดูแลและให้บริการเว็บ พนันออนไลน์ มานานหลายปี มั่นคงปลอดภัย 100%