[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
"โรงพยาบาลกีฬา" สำคัญมาก  VIEW : 1223    
โดย

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1005
ตอบแล้ว : 75
เพศ :
ระดับ : 26
Exp : 69%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 45.117.79.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 12:47:08   

 

การกีฬาแห่งประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้งให้ได้
ดร.ก้องศักด  ยอดมณี  ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยถึงโครงการโรงพยาบาลกีฬา (Sports Hospital) ซึ่งเป็น 1 ใน 12 แผนงานของตนว่า ตามที่ คณะกรรมการ กกท. (บอร์ด กกท.) ได้เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลกีฬา (Sports Hospital) โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์  กุลทนันท์, รองศาสตราจารย์ วิชัย วนดุรงค์วรรณ, นาวาอากาศเอก (พิเศษ) ไพศาล จันทรพิทักษ์, นายอรรถฤทธิ์  ศฤงคไพบูลย์, ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กันยิกา ชำนิประศาสน์ เป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ นั้น

คณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ มีหน้าที่ศึกษารูปแบบการจัดตั้งโรงพยาบาล กีฬาเพื่อให้บริการแก่นักกีฬา, ศึกษารูปแบบและแนวทางการบริการทางการแพทย์ในลักษณะ Sport Hospital,  ศึกษาข้อมูลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงพยาบาลกีฬา, ศึกษารูปแบบแนวทางการจัดหางบประมาณและรูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลกีฬา หากพบปัญหาอุปสรรคการจัดตั้งโรงพยาบาลกีฬาอาจจะลดระดับของ โรงพยาบาลกีฬามาเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์เพื่อนักกีฬา สำหรับรองรับการให้บริการและรักษานักกีฬาต่อไป

 

“ในระหว่างที่มีการศึกษารูปแบบการจัดตั้งโรงพยาบาลกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักกีฬาอยู่นี้ หากนักกีฬาทีมชาติทั้งในอดีตและปัจจุบันมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจากแพทย์เฉพาะทางด้านกีฬา สามารถเช็คสิทธิการรักษาพยาบาลและเข้ารับการรักษาได้ก่อนที่ คลินิกวิทยาศาสตร์การกีฬา กกท. โดยนักกีฬาทีมชาติ ในที่นี้หมายถึง บุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นนักกีฬา, นักกีฬาคนพิการของสมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ กกท. ให้การรับรองและอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ หรือเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซึ่งสหพันธ์หรือสมาพันธ์กีฬาระหว่างประเทศให้การรับรอง เช่น กีฬาซีเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชี่ยนพาราเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนบีชเกมส์, เอเชี่ยนยูธเกมส์ ฯลฯ”

ผู้ว่าการ กกท. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การรักษาพยาบาลนักกีฬาทีมชาติจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกีฬา ถือเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการต้องมีโรงพยาบาลกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักกีฬา และจากนี้ไปกกท. จะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของนักกีฬาและอดีตนักกีฬาให้มากขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับนักกีฬาทั้งหลายในการเข้าใช้บริการจากคลินิกวิทยาศาสตร์การกีฬา กกท. ไปก่อน นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลนักกีฬาแล้ว กกท. ยังให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือนักกีฬาทีมชาติทั้งอดีตและปัจจุบัน ผ่านกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบกระทรวงการคลัง รวมถึงการดูแลค่ายังชีพรายเดือนกรณีพิการหรือทุพพลภาพ และการให้ทุนการศึกษาในนักกีฬา อีกด้วย

 

สนันสนุนโดย ufabet
ศึกษาวิธีการใช้งาน ufabet